วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การอนุบาล และการเลี้ยงลูกไก่


   การเลี้ยงไก่เล็ก อายุ 1-6 สัปดาห์
  


            ลูกไก่ที่จะเลี้ยงขุนขายเนื้อส่งตลาด หรือพวกที่เลี้ยงไว้ทำพันธุ์ในอนาคตนั้น จำเป็นจะต้องมีการดูแลเลี้ยงดูอย่างดี เริ่มจากลูกไก่ออกจากตู้ฟักให้ทำการตัดปากบนลูกไก่ 1 ใน 3 แล้วนำไปกกด้วยเครื่องกกลูกไก่ เพื่อให้อบอุ่นด้วยอุณหภูมิกก 95 องศาF ในสัปดาห์ที่ 1 แล้วลดอุณหภูมิลงสัปดาห์ละ 5 องศาF กกลูกไก่เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ ลูกไก่ 1 ตัว ต้องการพื้นที่ในห้องกกลูกไก่ 0.5 ตารางฟุต หรือเท่ากับ 22 ตัว/ตารางเมตร 
          การกกลูกไก่ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าหากอากาศร้อนเกินไปให้ดับไฟกก เช่น กลางวันใกล้เที่ยงและบ่ายๆ ส่วนกลางคืนจะต้องให้ไฟกกตลอดคืน ในระหว่างกกจะต้องมีน้ำสะอดาดให้กินตลอดเวลา และวางอยู่ใกล้รางอาหาร ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและบ่าย ลูกไก่ 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ทั้งสองข้างยาว 6 ฟุต และขวดน้ำขนาด 1 แกลลอน จำนวน 3 อัน ทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลทั้ง 3 ชนิด พร้อมๆ กัน จากนั้นก็หยอดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลซ้ำอีกเมื่ออายุ 21 วัน
          การให้อาหารลูกไก่ระยะะกก (1-14 วันแรก) ควรมห้อาหารบ่อยครั้งใน 1 วัน อาจแบ่งเป็นตอนเช้า 2 ครั้ง ตอนบ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำอีก 1 ครั้ง  การให้อาหารบ่อยครั้งจะช่วยกระตุ้นให้ไก่กินอาหารดีขึ้นอีกทั้งอาหารจะใหม่สดเสมอ จำนวนอาหารที่ให้ต้องไม่มากจนเหลือค้างราง หรือล้นราง ซึ่งจะทำให้อาหารตกหล่น  ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละสัปาดาห์ และน้ำหนักไก่โดยเฉลี่ยดังแสดงไว้ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1  น้ำหนักและปริมาณอาหารผสมที่ใช้เลี้ยงลูกไก่อายุ 0-6 สัปดาห์

อายุลูกไก่
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว/วัน)
การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สัปดาห์ที่ 1
สัปดาห์ที่ 2
สัปดาห์ที่ 3
สัปดาห์ที่ 4
สัปดาห์ที่ 5
สัปดาห์ที่ 6
65
123
200
314
442
577
7
18
21
30
32
33
- หยอดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล หลอดลมอักเสบติดต่อ ฝีดาษเมื่ออายุ 1-7 วัน
- อัตราการตายไม่เกิน 3%
- ชั่งน้ำหนักเฉลี่ยเมื่อสิ้นสัปดาห์ โดยการสุ่มตัวอย่าง 10% เพื่อหาค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบกับตารางมาตรฐาน


          ในกรณีที่เกษตรกรต้องการเลี้ยงไก่สามสายพันธุ์ไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ การให้อาหารในแต่ละสัปดาห์จะต้องมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักลูกไก่ถ้าหากไก่หนักกว่ามาตรฐานที่กำหนด จะต้องลดจำนวนอาหารที่ให้ลงไป หรือถ้าน้ำหนักเบากว่ามาตรฐาน ก็ต้องเพิ่มอาหารให้มากกว่าที่กำหนด ดังนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องทำการสุ่มชั่งน้ำหนักของลูกไก่ทุกๆ สัปดาห์ แล้วเปรียบเทียบกับมาตรฐานพร้อมทั้งบันทึกข้อมูลในแบบฟอร์มเดียวกับตารางที่ 1 ส่วนการเลี้ยงเพื่อขุนขายให้กินอาหารเต็มที่โดยไม่ต้องควบคุมน้ำหนักไก่ ่หรือจำกัดอาหาร
          อาหารผสมที่ให้ในระยะ 0-6 สัปดาห์นี้ มีโปรตีน 18% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,900 กิโลแคลอรี่/กก.  แคลเซี่ยม0.8%  ฟอสฟอรัส 0.40%  เกลือ 0.5%  และมีส่วนประกอบของกรมอะมิดนครบตามความต้องการ (ตารางที่ 2) สำหรับไวตามินและแร่ธาตุปลีกย่อย (พรีมิกซ์) ที่ใช้ผสมในอาหาร 0.25% หรือ 250 กรัม ต่อ อาหาร 100 กก. นั้น เป็นไวตามิน - แร่ธาตุที่ผู้ผลิตผสมในปริมาณตามความต้องการของลูกไก่อายุ 0-6 สัปดาห์ และหาซื้อได้จากร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไป


การกกลูกไก่อายุ 0-3 สัปดาห์

การหยอดวัคซีนป้องกันโรคระบาด


ตารางที่ 2  ส่วนประกอบของอาหารลูกไก่ อายุ 0-6 สัปดาห์

ส่วนประกอบในอาหาร
%ในอาหารผสม
สูตรอาหารผสม (กก.)
โปรตีน
กรดอะมิโนที่จำเป็น
ไลซีน
เมทไธโอนีน+ซีสตีน
ทริปโตเฟน
ทรีโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
ฮีสติดีน
เวลีน
ไกลซีน+เซรีน
คุณค่าทางโภชนะ
พลังงานใช้ประโยชน์ได้ (กิโลแคลอรี/กก.)
แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัส
เกลือ
ไวตามิน+แร่ธาตุ
18

0.85
0.60
0.17
0.68
0.60
1.00
1.00
1.00
0.26
0.62
0.70


2,900
0.80
0.40
0.50
++
ข้าวโพด
รำละเอียด
กากถั่วเหลือ
ไบกระถินป่น
ปลาป่น (55%)
เปลือกหอย
เกลือ
พรีมิกซ์ลูกไก่
รวม








63.37
10.00
10.88
4.00
10.00
1.00
0.50
0.25
100







หมายเหตุ
1. ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และปลายข้าวใช้แทนกันได้
2. ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ก่อนใช้แช่น้ำเดือดนาน 15-20 นาที ตากแดด และบดผสมอาหารต่อไป
 

  การเลี้ยงลูกไก่ระยะเจริญเติบโต อายุ 7-14 สัปดาห์

           การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตระหว่าง 7-14 สัปดาห์ เป็นการเลี้ยงบนพื้นดินปล่อยฝูงๆ ละ 100-200 ตัว ในอัตราส่วนไก่ 1 ตัว ต่อ พื้นที่ 1.2 ตารางฟุต หรือไก่ 9 ตัว ต่อตารางเมตร พื้นคอกรองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี การเลี้ยงไก่ระยะนี้ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมีย สามารถเลี้ยงปนได้ เพื่อขายเป็นไก่เนื้อพื้นเมือง โดยจะต้องเลี้ยงแบบให้อาหารกินเต็มที่ มีอาหารในถังหรือรางอาหารตลอดเวลา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ แต่การเลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธุ์ เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องเลี้ยงแบบจำกัดอาหารให้ไก่กินโดยจะปรับจำนวนอาหารที่ให้ทุกๆ สัปดาห์ ตามตารางที่ 3 และจะต้องปรับเพิ่มหรือลด โดยดูจากน้ำหนักของไก่โดยเฉลี่ยเป็นเครื่องชี้แนะให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา ทำความสะอาดขวดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารที่มีลักษณะยาวที่กินได้ทั้งสองข้าง ยาว 4 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว หรือรางอาหารชนิดถังที่ใช้แขวนจำนวน 3 ถังต่อไก่ 100 ตัว ต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต และน้ำ 24-32 ลิตรต่อไก่ 100 ตัว 

           ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลตัวล ะ 0.10 ซีซี. เมื่ออายุ 10 สัปดาห์ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่หน้าอกหรือโคนขา โดยวัคซีนที่ฉีดเป็นชนิดเชื้อเป็นเรียกว่าวัคซีนป้องกันดรคนิวคาสเซิล เอ็ม พี  ซึ่งวัคซีน 1 หลอดผสมน้ำกลั่น 10 ซีซี. แล้วแบ่งฉีด ดังนั้นจึงฉีดไก่ได้ 100 ตัว การฉีดให้ผลดีกว่าการแทงปีกและสามารถคุ้มกันโรคได้นานกว่า 1 ปี ในวันเดียวกันนี้ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ไก่ตัวละ 2 ซีซี.ด้วย หลังจากฉีดวัคซีน เอ็ม พี แล้ว ให้หยอดวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยการหยอดจมูก

ตารางที่ 3  แสดงน้ำหนักมีชีวิตและจำนวนอาหารที่จำกัดให้ไก่รุ่นเพศเมียอายุ 7-14 สัปดาห์ กินในแต่ละสัปดาห์
อายุไก่
(สัปดาห์)
น้ำหนักกรัม
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหาร
(กรัม/ตัว/วัน)
การจัดการอื่นที่เกี่ยวข้อง
7
8
9
10
11
12
13
14
713
861
1,011
1,155
1,334
1,457
1,557
1,631
38
55
50
55
60
70
72
61
- ตัดปากไก่ 1/3

- ฉีดวัคซีนเอ็ม พี และอหิวาต์ไก่ พร้อมหยอดวัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อ
- ให้แสงสว่างไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง
- เปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุกๆ รุ่นที่นำไก่รุ่นใหม่เข้ามาเลี้ยง

          การให้อาหารจะต้องจำกัดให้กิน อาหารมีปริมาณและคุณค่าทางโภชนะดังตารางที่ 3 และ 4 ถ้าไก่น้ำหนักเบากว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้อาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องชั่งน้ำหนักไก่ทุกๆ สัปดาห์โดยการสุ่มชั่ง 10% ของไก่ทั้งฝูง แล้วหาค่าเฉลี่ย นำไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานกำหนด

ตารางที่ 4  แสดงส่วนประกอบของอาหารสำหรับไก่รุ่นเพศผู้และเพศเมียอายุ 7-14 สัปดาห์
ส่วนประกอบของอาหาร
%ในอาหาร
สูตรอาหารในอาหาร (กก.)
โปรตีน
กรดอะมิโน
ไลซีน
เมทไธโอนีน+ซีสตีน
ทริปโตเฟน
ทรีโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
ฮีสติดีน
เวลีน
ไกลซีน+เซรีน
คุณค่าทางโภชนะ
พลังงาน (M.E Kcal/Kg)
แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัส
เกลือ
15

0.60
0.50
0.14
0.57
0.50
0.83
0.83
0.83
0.22
0.52
0.58

2,900
0.70
0.35
0.50
ข้าวโพด
ปลายข้าว
รำละเอียด
ใบกระถิน
กากถั่วเหลือง 44%
ปลาป่น 55%
เปลือกหอยป่น
ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต 8%P
เกลือป่น
พรีมิกซ์
รวม 






73.00

5
4
12.25
3
1
1
0.5
0.25
100 








  การเลี้ยงไก่สาวอายุ 15-20 สัปดาห์

           เลี้ยงในคอกบนพื้นดินเลี้ยงปล่อยเป็นฝูงๆ ละ 100-150 ตัว พื้นที่ 1 ตารางเมตรเลี้ยงไก่สาวได้ 5-6 ตัว พอไก่สาวเริ่มเข้าอายุ 15 สัปดาห์ ให้ตัดปากไก่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ตัดปากบนให้สั้นกว่าปากล่าง 1 ใน 3 ด้วยเครื่องตัดปากไก่ และจี้แฟลด้วยความร้อน เพื่อป้องกันเลือดออกมาก เสร็จแล้วให้ทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ขั้นตอนต่อไปนี้ให้ถ่ายพยาธิภายในด้วยยาประเภท Peperazine ชนิดเม็ดทุกๆ ตัวๆ ละ 1 เม็ด สุดท้าย คือ อาบน้ำยาฆ่าเหา ไรไก่ โดยใช้ยาฆ่าแมลงชนิดผง ชือ เซฟวิน 85 ตวงยา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไก่ลงจุ่มน้ำใช้มือถูให้ขนเปียกจนทั่วลำตัว และก่อนนำไก่ขึ้นจากน้ำยา ก็ให้จับหัวไก่มุดลงในน้ำก่อนอีกครั้งหนึ่ง เป็นเสร็จวิธีการฆ่าเหาในไก่
          การเลี้ยงไก่สาวระยะนี้จะต้องมีการควบคุมจำนวนอาหารที่ให้กิน สุ่มชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ เปรียบเทียบตารางมาตรฐาน ให้น้ำกินตลอดเวลา คัดไก่ป่วยออกจากฝูงเมื่อเห็นไก่แสดงอาการผิดปกติ ทำความสะอาดคอกและกลับแกลบหรือวัสดุรองพื้นเสมอเมื่อเห็นว่าพื้นคอกเปียกชื้น แฉะ การรักษาพื้นคอกไม่ให้ชื้น และแห้งอยู่เสมอๆ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไก่ ไก่จะแข็งแรง เลี้ยงง่าย ตายยาก เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่เกษตรกรควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ และไม่จำเป็นจะต้องใช้ยามาก ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงต้องสร้าคอกไก่ให้สามารถระบายความชื้นออกไป และมีอากาศสดชื่นเข้ามาแทน คอกไก่ไม่ควรจะมืดทึบ อับลม อับแสง
          การให้แสงสว่างแก่ไก่ในเล้าระยะนี้ จ้ต้องให้ไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง ถ้าให้แสงสว่างมากกว่านี้จะทำให้ไก่ไข่เร็วขึ้นก่อนกำหนดและอัตราการไข่ทั้งปีไม่ดี แต่จะดีเฉพาะในช่วง 4 เดือนแรกเท่านั้น ดังนั้น แสงสว่างจึงต้องเอาใจใส่และจัดการให้ถูกต้อง กล่าวคือในเดือนที่เวลากลางวันยาว เช่น เดือนมีตุลาคไม่ต้องให้แสงสว่างเพิ่มในเวลาหัวค่ำหรือกลางคืน โดยหลักการแล้วแสงสว่างธรรมชาติ 8-12ชั่วโมงเป็นใช้ได้ไม่ต้องเพิ่มไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวที่มืดเร็วจำเป็นจะต้องให้แสงสว่างเพิ่ม แต่รวมแล้ว
  ไม่ใเกิน 11-12 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มของแสงสว่างที่พอเหมาะคือ 1 ฟุตแคนเดิ้ลที่ระดับตัวไก่
          การให้อาหารจะต้องจำกัดให้ไก่สาวกินตามตารางที่ 5-6 พร้อมทั้งตรวจสอบน้ำหนักไก่ทุกสัปดาห์ ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า 7.00-8.00 น. และบ่าย 14.00-15.00 น. ให้น้ำกินตลอดเวลา และทำความสะอาดรางน้ำเช้าและบ่าย เวลาเดียวกับที่ให้อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่สาวเป็นอาหารที่มีโปรตีน 12% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,900 M.E Kcal/Kg แคลเซี่ยม 0.6% ฟอสฟอรัส 0.35% เกลือ 0.55% และอุดมด้วยแร่ธาตุไวตามินที่ต้องการ (ตารางที่ 7)

ตารางที่ 5  แสดงน้ำหนักไก่สาว จำนวนอาหารที่จำกัดให้กินอายุ 15-20 สัปดาห์

อายุไก่สาว
(สัปดาห์)
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว/วัน)
การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
15
16
17
18
19
20
1,608
1,541
1,662
1,737
1,784
1,861
64
66
68
70
72
76
- ตัดปาก, หยอดวัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อ
- ถ่ายพยาธิและอาบน้ำฆ่าเหา ไรไก่
- ให้แสงสว่างไม่เกิน 11-12 ชม./วัน
- คัดไก่ป่วยออกเป็นระยะๆ ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน

ตารางที่ 6  แสดงน้ำหนักตัวและจำนวนอาหารที่จำกัดให้ไก่ตัวผู้อายุ 15-20 สัปดาห์ 
อายุไก่สาว
(สัปดาห์)
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว/วัน)
การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
15
16
17
18
19
20
1,730
1,820
1,910
2,000
2,130
2,220
80
83
86
90
95
99
- ตัดปาก, หยอดวัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อ
- ถ่ายพยาธิภายนอกและภายใน
- ให้แสงสว่างไม่เกิน 11-12 ชม./วัน
- ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน

ตารางที่ 7  แสดงอาหารและส่วนประกอบของอาหารไก่สาวอายุ 15-20 สัปดาห์
โภชนะของอาหารผสม
%ในอาหาร
สูตรอาหารผสม (กก.)
โปรตีน
กรดอะมิโน
ไลซีน
เมทไธโอนีน+ซีสตีน
ทริปโตเฟน
ทรีโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
ฮีสติดีน
เวลีน
ไกลซีน+เซรีน
คุณค่าทางโภชนะ
พลังงาน (M.E. Kcal/Kg)
แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัส
เกลือ
12

0.45
0.40
0.11
0.37
0.40
0.67
0.67
0.67
0.17
0.41
0.47

2,900
0.60
0.30
0.50
ข้าวโพด
รำละเอียด
กากถั่วเหลือง
ใบกระถิน
เปลือกหอยป่น
ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต 18%P
เกลือป่น
พรีมิกซ์
รวม









76.00
10.00
7.00
4
1
1
0.25
0.50
100 











    การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์อายุ 21-72 สัปดาห์

          1. ไก่สาวจะเริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุ ประมาณ 150 วัน หรือ 5-5.5 เดือน เมื่อไก่เริ่มไข่ให้เปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ ใีห้มีโภชนะอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อไก่นำไปสร้างไข่รวมทั้งเพิ่มแร่ธาตุแคลเซี่ยม จากเดิม 0.60% เป็น 3.36% ฟอสฟอรัส 0.3% เป็น 0.35% เพื่อนำไปสร้างเปลือกไข่ (ตารางที่ 9) ส่วนไก่พ่อพันธุ์นั้นให้อาหารเช่นเดียวกับแม่ไก่ แต่มีธาตุแคลเซี่ยมต่ำกว่า คือ 0.60% และฟอสฟอรัส 0.3% เท่าๆ กับในอาหารไก่รุ่นหนุ่มสาว ทั้งนี้เพราะไก่พ่อพันธุ์ไม่ไข่ จึงไม่จำเป็นต้องให้ธาตุแคลเซี่ยมสูงเช่นเดียวกับแม่ไก่พันธุ์หรือให้อาหารสูตรเดียวกับไก่แม่พันธุ์นั้น มีการค้นคว้าและวิจัยพบว่า ทำให้การผสมพันธุ์ของพ่อไก่ไม่ดี มีน้ำเชื้อน้อย และผสมไม่ค่อยจะติด ดังนั้นการจัดการที่ดีจึงควรแยกสูตรอาหารให้ไก่พ่อแม่พันธุ์กิน จำนวนอาหารที่ให้แม่ไก่ กินขึ้นอยู่กับอัตรการไข่ของแม่ไก่ แม่ไก่ไข่มากก็ให้กินมาก ไข่น้อยก็ให้กินอาหารลดลงตามส่วน ดังตารางที่ 8

          2. สิ่งที่ต้องการปรบอันดับที่สองนอกเนหือจากเรื่องอาหาร คือ เรื่องของแสงสว่างเพราะแสงสว่างจะมีผลกระทบโดยตรงกับอัตราการไข่ การให้แสงสว่างต่อวันไม่เพียงพอแม่ไก่จะไข่ลดลง แม้ว่าเราจะให้อาหารครบทุกหมู่ และการจัดการเรื่องอื่นๆ อย่างดี แสงเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในขบวนการผลิตไข่ของแม่ไก่ แสงสว่าที่พอเพียงควรมีความเข้ม 1 ฟุตแคลเดิ้ลในระดับตัวไก่ และต้องให้แสงสว่างวันละ 14-15 ชั่วโมงติดต่อกัน การให้แสงสว่างมากไม่ดี เพราะทำให้ไก่ไข่ไม่เป็นเวลา บางครั้งไข่กลางคืนเป็นต้น ไก่จะจิกกันมาก ตื่นตกใจง่าย และมดลูกทะลักออกมาข้างนอก การจัดแสงสว่างให้เป็นระบบต่อเนื่องกันวันละ 14-15 ชั่วโมง แม่ไก่จะไข่ก่อนเวลา 14 .00 น.ทุกๆ วัน จากการเลี้ยงไก่หนุ่มสาวอายุ 15-20 สัปดาห์ เราจำกัดเวลาการให้แสงสว่างวันละไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง แต่พอแม่ไก่เริ่มไข่เราจะต้องเพิ่มเวลาให้แสงสว่างเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1ชั่วโมงจนถึงสุดท้ายวันละ 14-15 ชั่วโมง แล้วหยุดเพิ่มและรักษาระดับนี้ตลอดไปจนกว่าแม่ไก่จะหยุดไข่และปลดระวาง การให้แสง ด้วยหลอดนีออนให้ผลดีกว่าหลอดไฟที่มีไส้ทังสะเตนที่ใช้กันในบ้านเรือนทั่วไป เพราะใช้งานได้ทนกว่าและประหยัดไฟกว่าไม่สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากเท่ากับหลอดที่มีไส้ดังกล่าว สำหรับสีของแสงควรให้เป็นสีขาวเพราะหาได้ง่ายราคาถูกและ ผลดีกว่าสีอื่นๆ

          การคำนวณความเข้มของแสงเท่ากับ 1-2 ฟุตแคนเดิ้ล (Foot Candle) ในระดับกรงไก่หรือตัวไก่ คำนวณได้จากสูตรดังน
ี้
ความเข้มของแสง = แรงเทียนของหลอดไฟ X ระยะทางเป็นฟุตจากหลอดไฟถึงระดับหัวไก่ (เป็นฟุตแคนเดิ้ล)

          โดยสรุปใช้หลอดไฟนีออน 40 วัตต์ ต่อพื้นที่ 200 ตารางฟุต ติดหลอดไฟสูงจากพื้นระดับเพดานคอก และวางหลอดไฟห่างกันเป็นระยะๆ ละ 10-14 ฟตุ และเปิดไฟเสริมจนถึงเวลา 21.00 น. ของทุกคืน เพื่อให้ได้แสงสว่างติดต่อกัน 14-15 ชั่วโมง

          3. บันทึกจำนวนไข่และน้ำหนักไข่ในสมุดประจำตัวแม่ไก่โดยบันทึกไข่ทุกๆ วัน ส่วนน้ำหนักไข่ให้ชั่งน้ำหนักทุกๆ สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน แล้วหาค่าเฉลี่ยน้ำหนักไข่ต่อสัปดาห์และต่อเดือนต่อไป ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกอัตราการไข่แต่ละเดือน ให้จัดทำเป็นกราฟแสดงไว้บนกระดานดำ แสดงสถิติและข้อมูลอื่นของไก่ที่อยู่ในคอกไก่นั้นๆ การคำนวณอัตราการไข่ให้คิดเป็นเปอร์เซนต์ของไก่ที่ให้ไข่ต่อระยะเวลาที่กำหนด (Hen-day Egg production)
 
          นำข้อมูลมาทำกราฟให้แกนนอนเป็นเดือนที่ไข่ แกนตั้งเป็นเปอร์เซนต์ไข่ แล้วเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานดังภาพที่ 1 และ ตารางที่ 8

รูปที่ 1 กราฟมาตรฐานการไข่ของไก่แม่พันธุ์สามสายพันธุ์
ตารางที่ 8  แสดงมาตรฐานปริมาณอาหารที่กินต่อวัน และอัตราการไข่ของแม่ไก่ที่อายุต่างๆ กัน เริ่มจากแม่ไก่ไข่ฟองแรกของไก่พันธุ์สามสาย
อัตราการไข่
(เดือนที่)
อัตราการไข่
(%)
อาหารที่กิน
(กรัม/ตัว/วัน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
เฉลี่ย
55
50
70
78
76
74
61
56
51
50
50
46
60.58
100
110
120
120
120
120
120
120
120
120
120
120
120
รวม
221 ฟอง/ตัว
42.91 กก./ปี
ตารางที่ 9  สูตรอาหารแม่ไก่ช่วงผสมพันธุ์
วัตถุดิบ
สูตรอาหาร
โภชนะในอาหาร
ความต้องการ
(%)
1
2
3
ข้าวโพด
กากถั่วเหลือง (44%)
ใบกระถินป่น
ปลาป่น (55%)
เปลือกหอย
ไดแคลเซียม P18
เกลือ
DL- เมทไธโอนีน
พรีมิกซ์แม่ไก่ไข่
60.5
24
4
-
8.5
2.1
0.5
0.1
0.3
63.5
21
4
-
8.5
2.1
0.5
0.1
0.3
66.06
14.63
4.00
5.00
8.50
1.00
0.50
0.06
0.25
โปรตีน
พลังงานใช้ประโยชน์ (กิโลแคลอรี่/กก.)
ไขมัน
เยื่อใย
แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์
ลิโนลิอิค
ไลซีน
เมทไธโอนีน+ซีสตีน
ทริปโตเฟน
15-16
2,750
3-4
4-5
3.75
0.35
1.00
0.71
0.61
0.15
หมายเหตุ : อาหารไก่พ่อพันธุ์ให้ลดเปลือกหอยลงเหลือ 1.0 กก. และเพิ่มข้าวโพดขึ้นทดแทน นอกนั้นคงเดิม


1 ความคิดเห็น:

  1. ขออนุญาตฝากลิงค์นะคะ
    เราคือเว็บผู้ให้บริการ คาสิโนออนไลน์ เล่นบาคาร่าออนไลน์ คาสิโนผ่านมือถือไอโฟน ไอแพด และ มือถือ ระบบ Android  รูเล็ต สล็อต และแทงบอลออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม
    ที่นี่เลยค่ะ
    https://www.999player.com

    ตอบลบ