วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ต้นทุนการผลิตไก่3สายเลือด


    ต้นทุนการผลิตลูกไก่เนื้อพื้นเมือง 3 สายพันธุ์

          ต้นทุนการผลิตลูกไก่แรกเกิด และต้นทุนขุนไก่เนื้อพื้นเมืองโดยประมาณแสดงไว้ใน ตารางที่ 8 ต้นทุนการผลิตลูกไก่แรกเกิดเฉลี่ยตัวละ 5.00 บาท เป็นต้นทุนที่ไม่ได้บวกกำไร และค่าขนส่ง แต่ได้รวมค่าแรงงานของตนเองไว้แล้ว โดยคำนวณมาจากค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 180 บาทเลี้ยงไก่ 365 วัน คนหนึ่งๆ เลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ 1000 ตัว เฉลี่ยตัวละ 65 บาท นอกนั้นเป็นค่าใช้จ่ายหลักๆ จะมีเพิ่มเติมจากนี้ก็เฉพาะราคาอาหารสัตว์เปลี่ยนไปเท่านั้น ดังนั้นถ้าผลิตลูกไก่ไว้เลี้ยงเองน่าจะลดต้นทุนค่าพันธุ์ได้เพราะถ้าซื้อจากท้องตลาดราคาประมาณ 10-15 บาท เป็นอย่างต่ำ เกษตรกรเพียงแต่ฝึกวิธีเลี้ยงเพาะพ่อแม่พันธุ์ 3 สาย วิธีฟักไข่และการสร้างตู้ฟักไข่ขึ้นมาใช้เอง โดยใช้เทคนิกของกรมปศุสัตว์ สำหรับต้นทุนการผลิตไก่เนื้อ 3 สายส่งตลาด เฉลี่ยต้นทุนต่อตัวเท่ากับ 51.33 บาท เฉลี่ยต่อกิโลกรัมน้ำหนักไก่เท่ากับ 28.52 บาท ดังนั้นการขายไก่มีชีวิตราคาจึงไม่ควรต่ำกว่า 28.52 บาท/ก.ก. แต่ปัจจุบันราคาไก่ 3 สายอยู่ระหว่าง กิโลกรัมละ 40-45 บาท จุดขายของไก่พันธุ์นี้คือ เนื้อไก่ที่มีรสชาดอร่อย และกลิ่นไม่ต่างกับไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ เจริญเติบโตเร็วและสามารถผลิตลูกไก่ได้เองด้วยต้นทุนที่ไม่สูงเกินไป

ตารางที่ 12  แสดงต้นทุนการผลิตไก่เนื้อพื้นเมือง 3 สาย และต้นทุนการเลี้ยงแต่แรกเกิด ถึง อายุ 16 สัปดาห


1. ต้นทุนการผลิตลูกไก่ 3 สายพันธุ์
1.1 ค่าพ่อแม่พันธุ์อายุแรกเกิด ตัวละ
1.2 อาหารผสมจาก 1-20 สัปดาห์ 11 ก.ก.ๆ ละ 8 บาท
1.3 อาหารผสม อายุ 21-72 สัปดาห์ วันละ 120 กรัม/ตัว
     รวม 43.68 ก.ก.ๆ ละ 8 บาท
1.4 ค่ายา-วัคซีน ตัวละ
1.5 ค่าแรงงาน/ตัว
1.6 ค่าอุปกรณ์ - โรงเรือน
1.7 ค่าดำเนินงานและฟักไข่
12
88

349
65
65
35
186
บาท
บาท

บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
  รวม
ผลิตลูกไก่ได้
เฉลี่ยต้นทุนลูกไก่
800
160
5.00
บาท/แม่
ตัว/แม่
บาท/ตัว
2. ต้นทุนขุนไก่เนื้อพื้นเมือง 3 สาย น้ำหนัก 1.8 ก.ก.
2.1 ค่าลูกไก่ 3 สายเลือด ตัวละ
2.2 ค่าอาหารผสม
     0-6 สัปดาห์ 0.99 ก.ก.ๆ ละ 8.50 บาท
     6-14 สัปดาห์ 3.23 ก.ก.ๆ ละ 7.50 บาท
     15-16 สัปดาห์ 1.02 ก.ก.ๆ ละ 7.00 บาท
6.00

8.41
24.22
7.14
บาท

บาท
บาท
บาท
3. ค่าแรงงานตัวละ
4. ค่ายา-วัคซีน ตัวละ
5. โรงเรือน - อุปกรณ์ ตัวละ
6. น้ำ - ไฟ ตัวละ
7. ค่าเสียโอกาสเงินทุน ตัวละ
1.50
1.50
1.08
0.58
0.90
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
  รวม ต้นทุน ตัวละ
เฉลี่ย                   51.33 /1.8 =
51.33
28.52
บาท
บาท/ก.ก.




       อ้างอิงจาก
http://www.dld.go.th/service/webeggs/mainchi.html


     การเลี้ยงไก่3สายพันธุ์
http://www.dld.go.th/service/chicken%203%20type/chic3mai.html

โรคและการรักษาโรค


  โรคและการรักษาโรค

          โรคไก่ทั่วๆ ไปแบ่งได้ 2 ชนิด คือ โรคที่รักษาได้และโรคที่รักษาด้วยยาไม่ได้ต้องป้องกันด้วยวัคซีนอย่างเดียว โรคที่รักษาด้วยยาได้และเป็นมากที่สุด คือ โรคบิด 








    โรคบิด จะเกิดเฉพาะกับลูกไก่อายุ ต่ำกว่า 2 เดือน โดยเฉพาะลูกไก่อายุ 3-4 สัปดาห์ จะติดเชื้อได้ง่าย ลักษณะอาการของโรค คือ ลูกไก่จะถ่ายเป็นมูกมีเลือดปนออกมา ตัวที่เป็นมาก ๆ ถ่ายเป็นเลือดเลยทีเดียวไก่ไม่กินอาหาร ยืนซึมปีกตกหนาวสั่นรวมกันเป็นกลุ่มๆ เกษตรกรควรหมั่นสังเกตพื้นคอกทุกวันหรือทุกครั้งที่เข้าคอกไก่สังเกตดูว่าไก่ถ่ายมูลมีลักษณะปกติหรือไม่ ถ้าเห็นมีเลือดปนมูลก็ให้รีบแก้ไข โดยการให้ยาละลายน้ำให้ไก่กิน เช่น ยาซัลเมท ไตรซัลฟา หรือซัลฟาละลายน้ำ ตามคำแนะนำของผู้ผลิต ให้ไก่กิน 3 วัน หยุด 1 วัน แล้วให้ต่ออีก 3 วันก็จะหายจากโรคบิด ข้อระวังคือยาประเภทพวกซัลฟา ถ้าให้ไก่กินมากๆ ไก่จะแคระแกร็น ดังนั้นการให้ยาควรตวงและวัดให้ได้ตามที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำอย่างเคร่งครัด ตามปกติแล้วถ้าเราซื้ออาหารสำเร็จสำหรับลูกไก่เนื้อและลูกไก่ไข่อายุต่ำกว่า 6 สัปดาห์ ผู้ผลิตจะผสมยาป้องกันโรคบิดเสมอ เวลาซื้ออาหารสัตว์ควรจะอ่านรายละเอียดว่ามียาป้องกันโรคบิดหรือไม่ ยาที่ใช้ผสมอาหารลูกไก่ทั่วไปจะใช้ยาโคแบน สำหรับลูกไก่อายุ 0-3 สัปดาห์คอยเดนสำหรับลูกไก่อายุ 4-6 สัปดาห์ และแอมโปรเลี่ยมสำหรับไก่อายุ 7-12 สัปดาห์ หรือจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งตลอด 3 อายุ ก็ได้ แต่ทีสำคัญที่ต้องปฏิบัติอย่างเร่งด่วน คือ ถ้าสังเกตเห็นถ่ายเป็นเลือดให้รีบรักษาและเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทันที โรยปูนขาวก่อนนำวัสดุรองพื้นใหม่ใส่ลงไป ปูนขาว 3 กก.ต่อ พื้นที่ 10 ตารางเมตร

          โรคที่สำคัญๆ อีกโรคหนึ่งคือ โรคหวัด เกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลง ร้อนจัด หรือหนาวจัด หรือฝนตก ไก่ถูกละอองฝน ลูกไก่มักจะเป็นหวัดน้ำมูกน้ำตาไหล จามเสียงดังฟิตๆ หายใจลำบากเสียงดังคล็อกแคลกๆ โรคนี้รักษาได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะพวกแกลลิมัยซิน เพนิซิลิน หรือเทอร์รามัยซิน หรือยาปฏิชีวนะอื่นๆ ที่มีจำหน่ายในร้านขายอาหารและยาสัตว์ทั่วไป หรือเราจะใช้สมุนไพรของเราเองก็ได้ คือ ฟ้าทลายโจน ไพลและขมิ้น ผสมในอาหารให้ลูกไก่ก็จะช่วยลดปัญหาไก่เป็นหวัด บิด ท้องเดินและท้องเสีย ลดกาารใช้ยาประเภทปฏิชีวนะลงได้มาก หรือไม่ได้ใช้เลย เกษตรกรควรปลูกสมุนไพรดังกล่าวไว้ผสมอาหารไก่เอง สมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ใช้รวมกัน ในอัตราส่วนฟ้าทะลายโจน 144 กรัม ผสมกับ ขมิ้น 7 กรัม ไพล 29 กรัม (น้ำหนักตากแห้ง) รวม 180 กรัม ผสมอาหารลูกไก่ได้ 100 กิโลกรัม

การเจริญเติบโตและคุณภาพของซากไก่


   การเจริญเติบโตและคุณภาพซากไก่

    ไก่สามสายพันธุ์เจริญเติบโตเร็ว สามารถขุนส่งตลาดได้ภายในเวลาไม่เกิน 16 สัปดาห์ ด้วยน้ำหนักพอเหมาะ 1.7 กิโลกรัม/ตัว การเจริญเติบโตและปริมาณอาหารที่กินต่อวันจากเริ่มเลี้ยงจนถึงส่งตลาดได้แสดงไว้ในตารางที่ 1-6 เป็นสถิติมาตรฐานของไก่พันธุ์นี้ เพื่อให้เกษตรกรได้เปรียบเทียบกับที่ตนเองกำลังเลี้ยงอยู่ ถ้าเติบโตสูงกว่ามาตรฐานก็ขอให้แสดงว่าเกษตรกรสนใจเอาใจใส่ปฏิบัติตามคำแนะนำ แต่ถ้าเติบโตช้าก็ขอให้ปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะในเรื่องการกกลูกไก่ระยะแรก และพื้น้คอกอย่าให้แฉะหรือชื้น คุณภาพอาหารตรงตามคำแนะนำ หรือไม่ควรใช้อาหารที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่แสดงไว้ในตาราง 2 และ 4 แต่อาหารที่มีคุณภาพสูงกว่าไม่เสียหายยิ่งดีแต่ต้นทุนจะสูง
 ไก่สามสายที่เติบโตได้น้ำหนัก 1.7 กิโลกรัม/ตัว เมื่อนำไปฆ่าและชำแหละแล้ว จะได้ซากที่ดีมีเนื้อหน้าอกเต็ม โคนขาใหญ่ กล้ามเนื้อแน่น ไขมันแทรกน้อย เมื่อตัดแต่งซากแล้ว จะมีเปอร์เซนต์ของส่วนตัดต่างๆ ดังแสดงไว้ในตารางที่ 11 ซากที่ถอนขนแล้วและไม่รวมเครื่องในทั้งหมดประมาณ 80% ของน้ำหนักที่มีชีวิตก่อนฆ่า สะโพก น่อง 22.74% และหน้าอกถอดกระดูก 15.5% โครงกระดูก 20% ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับไก่พันธุ์เนื้อขนสีขาวที่บริษัทผลิตเป็นอุตสาหกรรมทั่วไป แต่คุณภาพของเนื้อหลังนำไปปรุงเป็นอาหารแล้วเนื้อจะแน่นไขมันต่ำ มันแทรกน้อย มีกลิ่นและรสชาดไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ แต่เนื้อจะไม่เหนียว เหมาะที่จะทำเป็นไก่ย่าง หรือต้มยำไก่บ้านเป็นอาหารไทยๆ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สามารถผลิตได้ในเชิงกึ่งอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพราะแม่พันธุ์ผลิตลูกได้ปีละ 30-50 ตัว/แม่ และใช้เวลานาน 16-20 สัปดาห์ จึงจะส่งตลาดได้

ตารางที่ 11  ซากและเปอร์เซนต์ซากตัดแต่งของไก่สามสายเลือดเมื่ออายุ 16 สัปดาห์ คละเพศ

รายการ
น้ำหนัก (กรัม/ตัว)
%ของน้ำหนักมีชีวิต
น้ำหนักมีชีวิต
เลือด
ขน
ซากรวมเครื่องใน
ซากหักเครื่องใน
เครื่องในรวม
หัวใจ
ม้าม
ตับ
กึ๋น
ไส้
หัว-คอ
ปีก
สะโพก-น่อง
สันนอก
สันใน
ซี่โครง
แข้ง
ปอด
1,730  303
50  14
57  12
1,560 + 290
1,388 + 271
195 + 33
8 + 4
4 + 1
34 + 9
42 + 9
81 + 23
143 + 29
179 + 38
393 + 91
211 + 43
58 + 11
353 + 72
69  18
15
100.00
2.88
3.30
92.23
80.17
11.29
0.49
0.22
1.98
2.44
4.69
8.27
10.35
22.74
12.20
3.35
20.40
4.00
0.81

ต้นทุนการผลิตลูกไก่เนื้อพื้นเมือง 3 สายพันธุ์

          ต้นทุนการผลิตลูกไก่แรกเกิด และต้นทุนขุนไก่เนื้อพื้นเมืองโดยประมาณแสดงไว้ในตารางที่ 8 ต้นทุนผลิตลูกไก่แรกเกิดเฉลี่ยตัวละ 5 บาท เป็นต้นทุนที่ยังไม่ได้บวกกำไร และค่าขนส่ง แต่ได้รวมค่าแรงงานของตนเองไว้แล้ว โดยคำนวณมาจากค่าแรงขั้นต่ำ วันล ะ180 บาท เลี้ยงไก่ 365 วัน คนหนึ่งๆ เลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ 1,000 ตัว เฉลี่ยตัวละ 65 บาท นอกนั้นเป็นค่าใช้จ่ายหลักๆ จะมีเพิ่มเติมจากนี้ไปก็เพียงเฉพาะราคาอาหารสัตว์เปลี่ยนไปเท่านั้น ดังนั้นถ้าผลิตลูกไก่ไว้เลี้ยงเองน่าจะลดต้นทุนค่าพันธุ์ได้เพราะว่าถ้าซื้อจากท้องตลาดราคาก็จะประมาณ 10-15 บาท เป็นอย่างต่ำ เกษตรกรเพียงแต่ฝึกวิธีเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ 3 สาย วิธีฟักไข่และการสร้างตู้ฟักไข่ขึ้นมาใช้เอง โดยใช้เทคนิคของกรมปศุสัตว์ สำหรับต้นทุนการผลิตไก่เนื้อ 3 สายส่งตลาด เฉลี่ยต้นทุนต่อตัวเท่ากับ 51.33 บาท เฉลี่ยต่อกิโลกรัม

การอนุบาล และการเลี้ยงลูกไก่


   การเลี้ยงไก่เล็ก อายุ 1-6 สัปดาห์
  


            ลูกไก่ที่จะเลี้ยงขุนขายเนื้อส่งตลาด หรือพวกที่เลี้ยงไว้ทำพันธุ์ในอนาคตนั้น จำเป็นจะต้องมีการดูแลเลี้ยงดูอย่างดี เริ่มจากลูกไก่ออกจากตู้ฟักให้ทำการตัดปากบนลูกไก่ 1 ใน 3 แล้วนำไปกกด้วยเครื่องกกลูกไก่ เพื่อให้อบอุ่นด้วยอุณหภูมิกก 95 องศาF ในสัปดาห์ที่ 1 แล้วลดอุณหภูมิลงสัปดาห์ละ 5 องศาF กกลูกไก่เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ ลูกไก่ 1 ตัว ต้องการพื้นที่ในห้องกกลูกไก่ 0.5 ตารางฟุต หรือเท่ากับ 22 ตัว/ตารางเมตร 
          การกกลูกไก่ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าหากอากาศร้อนเกินไปให้ดับไฟกก เช่น กลางวันใกล้เที่ยงและบ่ายๆ ส่วนกลางคืนจะต้องให้ไฟกกตลอดคืน ในระหว่างกกจะต้องมีน้ำสะอดาดให้กินตลอดเวลา และวางอยู่ใกล้รางอาหาร ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและบ่าย ลูกไก่ 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ทั้งสองข้างยาว 6 ฟุต และขวดน้ำขนาด 1 แกลลอน จำนวน 3 อัน ทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลทั้ง 3 ชนิด พร้อมๆ กัน จากนั้นก็หยอดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลซ้ำอีกเมื่ออายุ 21 วัน
          การให้อาหารลูกไก่ระยะะกก (1-14 วันแรก) ควรมห้อาหารบ่อยครั้งใน 1 วัน อาจแบ่งเป็นตอนเช้า 2 ครั้ง ตอนบ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำอีก 1 ครั้ง  การให้อาหารบ่อยครั้งจะช่วยกระตุ้นให้ไก่กินอาหารดีขึ้นอีกทั้งอาหารจะใหม่สดเสมอ จำนวนอาหารที่ให้ต้องไม่มากจนเหลือค้างราง หรือล้นราง ซึ่งจะทำให้อาหารตกหล่น  ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละสัปาดาห์ และน้ำหนักไก่โดยเฉลี่ยดังแสดงไว้ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1  น้ำหนักและปริมาณอาหารผสมที่ใช้เลี้ยงลูกไก่อายุ 0-6 สัปดาห์

อายุลูกไก่
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว/วัน)
การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สัปดาห์ที่ 1
สัปดาห์ที่ 2
สัปดาห์ที่ 3
สัปดาห์ที่ 4
สัปดาห์ที่ 5
สัปดาห์ที่ 6
65
123
200
314
442
577
7
18
21
30
32
33
- หยอดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล หลอดลมอักเสบติดต่อ ฝีดาษเมื่ออายุ 1-7 วัน
- อัตราการตายไม่เกิน 3%
- ชั่งน้ำหนักเฉลี่ยเมื่อสิ้นสัปดาห์ โดยการสุ่มตัวอย่าง 10% เพื่อหาค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบกับตารางมาตรฐาน


          ในกรณีที่เกษตรกรต้องการเลี้ยงไก่สามสายพันธุ์ไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ การให้อาหารในแต่ละสัปดาห์จะต้องมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักลูกไก่ถ้าหากไก่หนักกว่ามาตรฐานที่กำหนด จะต้องลดจำนวนอาหารที่ให้ลงไป หรือถ้าน้ำหนักเบากว่ามาตรฐาน ก็ต้องเพิ่มอาหารให้มากกว่าที่กำหนด ดังนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องทำการสุ่มชั่งน้ำหนักของลูกไก่ทุกๆ สัปดาห์ แล้วเปรียบเทียบกับมาตรฐานพร้อมทั้งบันทึกข้อมูลในแบบฟอร์มเดียวกับตารางที่ 1 ส่วนการเลี้ยงเพื่อขุนขายให้กินอาหารเต็มที่โดยไม่ต้องควบคุมน้ำหนักไก่ ่หรือจำกัดอาหาร
          อาหารผสมที่ให้ในระยะ 0-6 สัปดาห์นี้ มีโปรตีน 18% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,900 กิโลแคลอรี่/กก.  แคลเซี่ยม0.8%  ฟอสฟอรัส 0.40%  เกลือ 0.5%  และมีส่วนประกอบของกรมอะมิดนครบตามความต้องการ (ตารางที่ 2) สำหรับไวตามินและแร่ธาตุปลีกย่อย (พรีมิกซ์) ที่ใช้ผสมในอาหาร 0.25% หรือ 250 กรัม ต่อ อาหาร 100 กก. นั้น เป็นไวตามิน - แร่ธาตุที่ผู้ผลิตผสมในปริมาณตามความต้องการของลูกไก่อายุ 0-6 สัปดาห์ และหาซื้อได้จากร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไป


การกกลูกไก่อายุ 0-3 สัปดาห์

การหยอดวัคซีนป้องกันโรคระบาด


ตารางที่ 2  ส่วนประกอบของอาหารลูกไก่ อายุ 0-6 สัปดาห์

ส่วนประกอบในอาหาร
%ในอาหารผสม
สูตรอาหารผสม (กก.)
โปรตีน
กรดอะมิโนที่จำเป็น
ไลซีน
เมทไธโอนีน+ซีสตีน
ทริปโตเฟน
ทรีโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
ฮีสติดีน
เวลีน
ไกลซีน+เซรีน
คุณค่าทางโภชนะ
พลังงานใช้ประโยชน์ได้ (กิโลแคลอรี/กก.)
แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัส
เกลือ
ไวตามิน+แร่ธาตุ
18

0.85
0.60
0.17
0.68
0.60
1.00
1.00
1.00
0.26
0.62
0.70


2,900
0.80
0.40
0.50
++
ข้าวโพด
รำละเอียด
กากถั่วเหลือ
ไบกระถินป่น
ปลาป่น (55%)
เปลือกหอย
เกลือ
พรีมิกซ์ลูกไก่
รวม








63.37
10.00
10.88
4.00
10.00
1.00
0.50
0.25
100







หมายเหตุ
1. ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และปลายข้าวใช้แทนกันได้
2. ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ก่อนใช้แช่น้ำเดือดนาน 15-20 นาที ตากแดด และบดผสมอาหารต่อไป
 

  การเลี้ยงลูกไก่ระยะเจริญเติบโต อายุ 7-14 สัปดาห์

           การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตระหว่าง 7-14 สัปดาห์ เป็นการเลี้ยงบนพื้นดินปล่อยฝูงๆ ละ 100-200 ตัว ในอัตราส่วนไก่ 1 ตัว ต่อ พื้นที่ 1.2 ตารางฟุต หรือไก่ 9 ตัว ต่อตารางเมตร พื้นคอกรองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี การเลี้ยงไก่ระยะนี้ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมีย สามารถเลี้ยงปนได้ เพื่อขายเป็นไก่เนื้อพื้นเมือง โดยจะต้องเลี้ยงแบบให้อาหารกินเต็มที่ มีอาหารในถังหรือรางอาหารตลอดเวลา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ แต่การเลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธุ์ เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องเลี้ยงแบบจำกัดอาหารให้ไก่กินโดยจะปรับจำนวนอาหารที่ให้ทุกๆ สัปดาห์ ตามตารางที่ 3 และจะต้องปรับเพิ่มหรือลด โดยดูจากน้ำหนักของไก่โดยเฉลี่ยเป็นเครื่องชี้แนะให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา ทำความสะอาดขวดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารที่มีลักษณะยาวที่กินได้ทั้งสองข้าง ยาว 4 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว หรือรางอาหารชนิดถังที่ใช้แขวนจำนวน 3 ถังต่อไก่ 100 ตัว ต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต และน้ำ 24-32 ลิตรต่อไก่ 100 ตัว 

           ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลตัวล ะ 0.10 ซีซี. เมื่ออายุ 10 สัปดาห์ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่หน้าอกหรือโคนขา โดยวัคซีนที่ฉีดเป็นชนิดเชื้อเป็นเรียกว่าวัคซีนป้องกันดรคนิวคาสเซิล เอ็ม พี  ซึ่งวัคซีน 1 หลอดผสมน้ำกลั่น 10 ซีซี. แล้วแบ่งฉีด ดังนั้นจึงฉีดไก่ได้ 100 ตัว การฉีดให้ผลดีกว่าการแทงปีกและสามารถคุ้มกันโรคได้นานกว่า 1 ปี ในวันเดียวกันนี้ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ไก่ตัวละ 2 ซีซี.ด้วย หลังจากฉีดวัคซีน เอ็ม พี แล้ว ให้หยอดวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยการหยอดจมูก

ตารางที่ 3  แสดงน้ำหนักมีชีวิตและจำนวนอาหารที่จำกัดให้ไก่รุ่นเพศเมียอายุ 7-14 สัปดาห์ กินในแต่ละสัปดาห์
อายุไก่
(สัปดาห์)
น้ำหนักกรัม
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหาร
(กรัม/ตัว/วัน)
การจัดการอื่นที่เกี่ยวข้อง
7
8
9
10
11
12
13
14
713
861
1,011
1,155
1,334
1,457
1,557
1,631
38
55
50
55
60
70
72
61
- ตัดปากไก่ 1/3

- ฉีดวัคซีนเอ็ม พี และอหิวาต์ไก่ พร้อมหยอดวัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อ
- ให้แสงสว่างไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง
- เปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุกๆ รุ่นที่นำไก่รุ่นใหม่เข้ามาเลี้ยง

          การให้อาหารจะต้องจำกัดให้กิน อาหารมีปริมาณและคุณค่าทางโภชนะดังตารางที่ 3 และ 4 ถ้าไก่น้ำหนักเบากว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้อาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องชั่งน้ำหนักไก่ทุกๆ สัปดาห์โดยการสุ่มชั่ง 10% ของไก่ทั้งฝูง แล้วหาค่าเฉลี่ย นำไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานกำหนด

ตารางที่ 4  แสดงส่วนประกอบของอาหารสำหรับไก่รุ่นเพศผู้และเพศเมียอายุ 7-14 สัปดาห์
ส่วนประกอบของอาหาร
%ในอาหาร
สูตรอาหารในอาหาร (กก.)
โปรตีน
กรดอะมิโน
ไลซีน
เมทไธโอนีน+ซีสตีน
ทริปโตเฟน
ทรีโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
ฮีสติดีน
เวลีน
ไกลซีน+เซรีน
คุณค่าทางโภชนะ
พลังงาน (M.E Kcal/Kg)
แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัส
เกลือ
15

0.60
0.50
0.14
0.57
0.50
0.83
0.83
0.83
0.22
0.52
0.58

2,900
0.70
0.35
0.50
ข้าวโพด
ปลายข้าว
รำละเอียด
ใบกระถิน
กากถั่วเหลือง 44%
ปลาป่น 55%
เปลือกหอยป่น
ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต 8%P
เกลือป่น
พรีมิกซ์
รวม 






73.00

5
4
12.25
3
1
1
0.5
0.25
100 








  การเลี้ยงไก่สาวอายุ 15-20 สัปดาห์

           เลี้ยงในคอกบนพื้นดินเลี้ยงปล่อยเป็นฝูงๆ ละ 100-150 ตัว พื้นที่ 1 ตารางเมตรเลี้ยงไก่สาวได้ 5-6 ตัว พอไก่สาวเริ่มเข้าอายุ 15 สัปดาห์ ให้ตัดปากไก่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ตัดปากบนให้สั้นกว่าปากล่าง 1 ใน 3 ด้วยเครื่องตัดปากไก่ และจี้แฟลด้วยความร้อน เพื่อป้องกันเลือดออกมาก เสร็จแล้วให้ทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ขั้นตอนต่อไปนี้ให้ถ่ายพยาธิภายในด้วยยาประเภท Peperazine ชนิดเม็ดทุกๆ ตัวๆ ละ 1 เม็ด สุดท้าย คือ อาบน้ำยาฆ่าเหา ไรไก่ โดยใช้ยาฆ่าแมลงชนิดผง ชือ เซฟวิน 85 ตวงยา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไก่ลงจุ่มน้ำใช้มือถูให้ขนเปียกจนทั่วลำตัว และก่อนนำไก่ขึ้นจากน้ำยา ก็ให้จับหัวไก่มุดลงในน้ำก่อนอีกครั้งหนึ่ง เป็นเสร็จวิธีการฆ่าเหาในไก่
          การเลี้ยงไก่สาวระยะนี้จะต้องมีการควบคุมจำนวนอาหารที่ให้กิน สุ่มชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ เปรียบเทียบตารางมาตรฐาน ให้น้ำกินตลอดเวลา คัดไก่ป่วยออกจากฝูงเมื่อเห็นไก่แสดงอาการผิดปกติ ทำความสะอาดคอกและกลับแกลบหรือวัสดุรองพื้นเสมอเมื่อเห็นว่าพื้นคอกเปียกชื้น แฉะ การรักษาพื้นคอกไม่ให้ชื้น และแห้งอยู่เสมอๆ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไก่ ไก่จะแข็งแรง เลี้ยงง่าย ตายยาก เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่เกษตรกรควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ และไม่จำเป็นจะต้องใช้ยามาก ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงต้องสร้าคอกไก่ให้สามารถระบายความชื้นออกไป และมีอากาศสดชื่นเข้ามาแทน คอกไก่ไม่ควรจะมืดทึบ อับลม อับแสง
          การให้แสงสว่างแก่ไก่ในเล้าระยะนี้ จ้ต้องให้ไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง ถ้าให้แสงสว่างมากกว่านี้จะทำให้ไก่ไข่เร็วขึ้นก่อนกำหนดและอัตราการไข่ทั้งปีไม่ดี แต่จะดีเฉพาะในช่วง 4 เดือนแรกเท่านั้น ดังนั้น แสงสว่างจึงต้องเอาใจใส่และจัดการให้ถูกต้อง กล่าวคือในเดือนที่เวลากลางวันยาว เช่น เดือนมีตุลาคไม่ต้องให้แสงสว่างเพิ่มในเวลาหัวค่ำหรือกลางคืน โดยหลักการแล้วแสงสว่างธรรมชาติ 8-12ชั่วโมงเป็นใช้ได้ไม่ต้องเพิ่มไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวที่มืดเร็วจำเป็นจะต้องให้แสงสว่างเพิ่ม แต่รวมแล้ว
  ไม่ใเกิน 11-12 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มของแสงสว่างที่พอเหมาะคือ 1 ฟุตแคนเดิ้ลที่ระดับตัวไก่
          การให้อาหารจะต้องจำกัดให้ไก่สาวกินตามตารางที่ 5-6 พร้อมทั้งตรวจสอบน้ำหนักไก่ทุกสัปดาห์ ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า 7.00-8.00 น. และบ่าย 14.00-15.00 น. ให้น้ำกินตลอดเวลา และทำความสะอาดรางน้ำเช้าและบ่าย เวลาเดียวกับที่ให้อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่สาวเป็นอาหารที่มีโปรตีน 12% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,900 M.E Kcal/Kg แคลเซี่ยม 0.6% ฟอสฟอรัส 0.35% เกลือ 0.55% และอุดมด้วยแร่ธาตุไวตามินที่ต้องการ (ตารางที่ 7)

ตารางที่ 5  แสดงน้ำหนักไก่สาว จำนวนอาหารที่จำกัดให้กินอายุ 15-20 สัปดาห์

อายุไก่สาว
(สัปดาห์)
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว/วัน)
การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
15
16
17
18
19
20
1,608
1,541
1,662
1,737
1,784
1,861
64
66
68
70
72
76
- ตัดปาก, หยอดวัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อ
- ถ่ายพยาธิและอาบน้ำฆ่าเหา ไรไก่
- ให้แสงสว่างไม่เกิน 11-12 ชม./วัน
- คัดไก่ป่วยออกเป็นระยะๆ ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน

ตารางที่ 6  แสดงน้ำหนักตัวและจำนวนอาหารที่จำกัดให้ไก่ตัวผู้อายุ 15-20 สัปดาห์ 
อายุไก่สาว
(สัปดาห์)
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว/วัน)
การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
15
16
17
18
19
20
1,730
1,820
1,910
2,000
2,130
2,220
80
83
86
90
95
99
- ตัดปาก, หยอดวัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อ
- ถ่ายพยาธิภายนอกและภายใน
- ให้แสงสว่างไม่เกิน 11-12 ชม./วัน
- ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน

ตารางที่ 7  แสดงอาหารและส่วนประกอบของอาหารไก่สาวอายุ 15-20 สัปดาห์
โภชนะของอาหารผสม
%ในอาหาร
สูตรอาหารผสม (กก.)
โปรตีน
กรดอะมิโน
ไลซีน
เมทไธโอนีน+ซีสตีน
ทริปโตเฟน
ทรีโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
ฮีสติดีน
เวลีน
ไกลซีน+เซรีน
คุณค่าทางโภชนะ
พลังงาน (M.E. Kcal/Kg)
แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัส
เกลือ
12

0.45
0.40
0.11
0.37
0.40
0.67
0.67
0.67
0.17
0.41
0.47

2,900
0.60
0.30
0.50
ข้าวโพด
รำละเอียด
กากถั่วเหลือง
ใบกระถิน
เปลือกหอยป่น
ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต 18%P
เกลือป่น
พรีมิกซ์
รวม









76.00
10.00
7.00
4
1
1
0.25
0.50
100 











    การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์อายุ 21-72 สัปดาห์

          1. ไก่สาวจะเริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุ ประมาณ 150 วัน หรือ 5-5.5 เดือน เมื่อไก่เริ่มไข่ให้เปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ ใีห้มีโภชนะอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อไก่นำไปสร้างไข่รวมทั้งเพิ่มแร่ธาตุแคลเซี่ยม จากเดิม 0.60% เป็น 3.36% ฟอสฟอรัส 0.3% เป็น 0.35% เพื่อนำไปสร้างเปลือกไข่ (ตารางที่ 9) ส่วนไก่พ่อพันธุ์นั้นให้อาหารเช่นเดียวกับแม่ไก่ แต่มีธาตุแคลเซี่ยมต่ำกว่า คือ 0.60% และฟอสฟอรัส 0.3% เท่าๆ กับในอาหารไก่รุ่นหนุ่มสาว ทั้งนี้เพราะไก่พ่อพันธุ์ไม่ไข่ จึงไม่จำเป็นต้องให้ธาตุแคลเซี่ยมสูงเช่นเดียวกับแม่ไก่พันธุ์หรือให้อาหารสูตรเดียวกับไก่แม่พันธุ์นั้น มีการค้นคว้าและวิจัยพบว่า ทำให้การผสมพันธุ์ของพ่อไก่ไม่ดี มีน้ำเชื้อน้อย และผสมไม่ค่อยจะติด ดังนั้นการจัดการที่ดีจึงควรแยกสูตรอาหารให้ไก่พ่อแม่พันธุ์กิน จำนวนอาหารที่ให้แม่ไก่ กินขึ้นอยู่กับอัตรการไข่ของแม่ไก่ แม่ไก่ไข่มากก็ให้กินมาก ไข่น้อยก็ให้กินอาหารลดลงตามส่วน ดังตารางที่ 8

          2. สิ่งที่ต้องการปรบอันดับที่สองนอกเนหือจากเรื่องอาหาร คือ เรื่องของแสงสว่างเพราะแสงสว่างจะมีผลกระทบโดยตรงกับอัตราการไข่ การให้แสงสว่างต่อวันไม่เพียงพอแม่ไก่จะไข่ลดลง แม้ว่าเราจะให้อาหารครบทุกหมู่ และการจัดการเรื่องอื่นๆ อย่างดี แสงเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในขบวนการผลิตไข่ของแม่ไก่ แสงสว่าที่พอเพียงควรมีความเข้ม 1 ฟุตแคลเดิ้ลในระดับตัวไก่ และต้องให้แสงสว่างวันละ 14-15 ชั่วโมงติดต่อกัน การให้แสงสว่างมากไม่ดี เพราะทำให้ไก่ไข่ไม่เป็นเวลา บางครั้งไข่กลางคืนเป็นต้น ไก่จะจิกกันมาก ตื่นตกใจง่าย และมดลูกทะลักออกมาข้างนอก การจัดแสงสว่างให้เป็นระบบต่อเนื่องกันวันละ 14-15 ชั่วโมง แม่ไก่จะไข่ก่อนเวลา 14 .00 น.ทุกๆ วัน จากการเลี้ยงไก่หนุ่มสาวอายุ 15-20 สัปดาห์ เราจำกัดเวลาการให้แสงสว่างวันละไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง แต่พอแม่ไก่เริ่มไข่เราจะต้องเพิ่มเวลาให้แสงสว่างเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1ชั่วโมงจนถึงสุดท้ายวันละ 14-15 ชั่วโมง แล้วหยุดเพิ่มและรักษาระดับนี้ตลอดไปจนกว่าแม่ไก่จะหยุดไข่และปลดระวาง การให้แสง ด้วยหลอดนีออนให้ผลดีกว่าหลอดไฟที่มีไส้ทังสะเตนที่ใช้กันในบ้านเรือนทั่วไป เพราะใช้งานได้ทนกว่าและประหยัดไฟกว่าไม่สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากเท่ากับหลอดที่มีไส้ดังกล่าว สำหรับสีของแสงควรให้เป็นสีขาวเพราะหาได้ง่ายราคาถูกและ ผลดีกว่าสีอื่นๆ

          การคำนวณความเข้มของแสงเท่ากับ 1-2 ฟุตแคนเดิ้ล (Foot Candle) ในระดับกรงไก่หรือตัวไก่ คำนวณได้จากสูตรดังน
ี้
ความเข้มของแสง = แรงเทียนของหลอดไฟ X ระยะทางเป็นฟุตจากหลอดไฟถึงระดับหัวไก่ (เป็นฟุตแคนเดิ้ล)

          โดยสรุปใช้หลอดไฟนีออน 40 วัตต์ ต่อพื้นที่ 200 ตารางฟุต ติดหลอดไฟสูงจากพื้นระดับเพดานคอก และวางหลอดไฟห่างกันเป็นระยะๆ ละ 10-14 ฟตุ และเปิดไฟเสริมจนถึงเวลา 21.00 น. ของทุกคืน เพื่อให้ได้แสงสว่างติดต่อกัน 14-15 ชั่วโมง

          3. บันทึกจำนวนไข่และน้ำหนักไข่ในสมุดประจำตัวแม่ไก่โดยบันทึกไข่ทุกๆ วัน ส่วนน้ำหนักไข่ให้ชั่งน้ำหนักทุกๆ สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน แล้วหาค่าเฉลี่ยน้ำหนักไข่ต่อสัปดาห์และต่อเดือนต่อไป ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกอัตราการไข่แต่ละเดือน ให้จัดทำเป็นกราฟแสดงไว้บนกระดานดำ แสดงสถิติและข้อมูลอื่นของไก่ที่อยู่ในคอกไก่นั้นๆ การคำนวณอัตราการไข่ให้คิดเป็นเปอร์เซนต์ของไก่ที่ให้ไข่ต่อระยะเวลาที่กำหนด (Hen-day Egg production)
 
          นำข้อมูลมาทำกราฟให้แกนนอนเป็นเดือนที่ไข่ แกนตั้งเป็นเปอร์เซนต์ไข่ แล้วเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานดังภาพที่ 1 และ ตารางที่ 8

รูปที่ 1 กราฟมาตรฐานการไข่ของไก่แม่พันธุ์สามสายพันธุ์
ตารางที่ 8  แสดงมาตรฐานปริมาณอาหารที่กินต่อวัน และอัตราการไข่ของแม่ไก่ที่อายุต่างๆ กัน เริ่มจากแม่ไก่ไข่ฟองแรกของไก่พันธุ์สามสาย
อัตราการไข่
(เดือนที่)
อัตราการไข่
(%)
อาหารที่กิน
(กรัม/ตัว/วัน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
เฉลี่ย
55
50
70
78
76
74
61
56
51
50
50
46
60.58
100
110
120
120
120
120
120
120
120
120
120
120
120
รวม
221 ฟอง/ตัว
42.91 กก./ปี
ตารางที่ 9  สูตรอาหารแม่ไก่ช่วงผสมพันธุ์
วัตถุดิบ
สูตรอาหาร
โภชนะในอาหาร
ความต้องการ
(%)
1
2
3
ข้าวโพด
กากถั่วเหลือง (44%)
ใบกระถินป่น
ปลาป่น (55%)
เปลือกหอย
ไดแคลเซียม P18
เกลือ
DL- เมทไธโอนีน
พรีมิกซ์แม่ไก่ไข่
60.5
24
4
-
8.5
2.1
0.5
0.1
0.3
63.5
21
4
-
8.5
2.1
0.5
0.1
0.3
66.06
14.63
4.00
5.00
8.50
1.00
0.50
0.06
0.25
โปรตีน
พลังงานใช้ประโยชน์ (กิโลแคลอรี่/กก.)
ไขมัน
เยื่อใย
แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์
ลิโนลิอิค
ไลซีน
เมทไธโอนีน+ซีสตีน
ทริปโตเฟน
15-16
2,750
3-4
4-5
3.75
0.35
1.00
0.71
0.61
0.15
หมายเหตุ : อาหารไก่พ่อพันธุ์ให้ลดเปลือกหอยลงเหลือ 1.0 กก. และเพิ่มข้าวโพดขึ้นทดแทน นอกนั้นคงเดิม


ประวัติ ของพันธุ์ไก่3สายเลือด


      
       กรมปศุสัตว์มีนโยบายด้านการวิจัย และพัฒนาพันธุ์สัตว์ปีกและเทคโนโลยีการจัดการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และการเลี้ยงดูของเกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่น และเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งในปัจจุบันความนิยมของผู้บริโภค
เน้นไปที่ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ เรพาะรสชาดดีเนื้อแน่น ไขมันต่ำและเนื้อมีกลิ่นหอม ซึ่งตรงกันข้ามกับไก่เนื้อโตเร็วที่มีจำหน่ายอยู่
ทั่วไปในตลาด ดั้งนั้น กลุ่มงานสัตว์ปีก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ จึงได้ทำการวิจัยผสมพันธุ์ไก่สามสายพันธุ์ขึ้นมา เพื่อทำเป็นสาย
แม่พันธุ์ ที่มีคุณสมบัติให้ลูกดก เจริญเติบโตเร็ว เนื้อหน้าอกเต็ม และเมื่อนำไปผสมกับพันธุ์พื้นเมืองแล้วจะให้ลูกผสมสี่สายพันธุ์
ที่มีลักษณะไม่แตกต่างกับไก่พื้นเมือง คุณภาพเนื้อทัดเทียม หรือดีกว่าไก่พื้นเมือง การวิจัยพันธุ์ได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2537
ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และวิจัยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี การวิจัยพันธุ์มีวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่ง คือ ให้เกษตรกรขยายพันธุ์เองได้ ไม่กลาย
พันธุ์ และไก่สามสายพันธุ์ยังเป็นแม่พันธุ์พื้นฐานสำหรับผสมเป็นไก่เนื้อพื้นเมืองเติบโตเร็ว ห้าสายพันธุ์ได้อีกด้วย คือ สามารถที่จะปรับเปลี่ยนสลับพ่อพันธุ์ให้ได้ลูกโตช้าโตเร็วได้ตามความต้องการ แม้แต่ไก่พันธุ์เนื้อโตเร็วก็ใช้แม่พื้นฐานสามสายพันธุ์หรือจะใช้พันธุ์สามสาย ผลิตเป็นไก่พื้นเมืองโดยตรงก็ได้ คุณภาพเนื้อแตกต่างกันเล็กน้อย แต่เจริญเติบโตเร็วกว่านำไปผสมกับไก่พื้นเมือง ซึ่งแผนการผสมพันธุ์ดังนี้


โร๊ดไอแลนด์
(เพศผู้)


X



บาร์พลีมัธร๊อค
(เพศเมีย)

เซียงไฮ้
(เพศผู้)



X



โร๊ด-บาร์ (สองสาย)
(เพศเมีย)
  
  

สามสายพันธุ์